พรบ.อาคารชุด

กฎหมายอาคารชุด พรบ.อาคารชุด ฉบับล่าสุด มีอะไรที่ควรรู้!

พฤษภาคม 16, 2025

ลูกบ้านคอนโดต้องรู้! นอกจากกฎระเบียบในการอยู่อาศัยร่วมกันที่กำหนดโดยนิติบุคคลคอนโดแล้ว เรายังต้องให้ความสำคัญกับพรบ.อาคารชุด ซึ่งจะเป็นการอธิบายสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของร่วม ขอบเขตอำนาจของนิติบุคคลอาคารชุด รวมถึงหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการอาคารชุด โดยปัจจุบันคือ พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.อาคารชุดเดิมคือปี 2522 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา  เพื่อให้มีความทันสมัย ตอบโจทย์กับโลกปัจจุบันมากขึ้น จะมีส่วนไหนที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมบ้าง เราสรุปมาให้แล้ว

ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายอาคารชุด มีอะไรบ้าง ?

โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องของเนื้อหาสาระเกี่ยวกับกฎหมายอาคารชุดที่มีการเพิ่มเติม ขยายขอบเขต และเพิ่มความชัดเจนในการดำเนินงานส่วนต่าง ๆ ให้เกิดความกระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น ลดการเกิดปัญหาเคลือบแคลง หรือตีความไม่ชัดเจน ดังนี้

การเพิ่มบทนิยาม

มีการเพิ่มบทนิยามใหม่ ๆ เพื่อให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ได้แก่

  • “การประชุมใหญ่” หมายถึง การประชุมใหญ่สามัญ หรือการประชุมใหญ่วิสามัญของเจ้าของร่วม แล้วแต่กรณี
  • “คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด
  • “กรรมการ” หมายถึง กรรมการนิติบุคคลอาคารชุด
  • “ผู้จัดการ” หมายถึง ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด

รวมถึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของ “ทรัพย์ส่วนกลาง” ที่ลูกบ้านทุกคนมีสิทธิใช้ร่วมกัน

การยื่นคำขอจดทะเบียนตามพ.ร.บ.อาคารชุด

สำหรับผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและต้องการขอจดทะเบียนอาคารชุด จะต้องเตรียมยื่นคำขอจดทะเบียนอาคารชุดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมหลักฐานและรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • โฉนดที่ดิน
  • แผนผังอาคารชุด รวมทั้งเส้นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ
  • รายละเอียดเกี่ยวกับห้องชุด ทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลาง ได้แก่ จำนวนพื้นที่ ลักษณะการใช้ประโยชน์ และอื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • อัตราส่วนที่เจ้าของห้องชุดแต่ละห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14
  • คำรับรองของผู้ยื่นคำขอว่าอาคารที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นปราศจากภาระผูกพันใด ๆ เว้นแต่การจำนองอาคารรวมกับที่ดิน
  • ร่างข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด
  • หลักฐานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

กรรมสิทธิ์ห้องชุดและทรัพย์ส่วนกลาง

  • การโฆษณาขายห้องชุด ในอาคารชุดคอนโดมิเนียม ต้องตรงกับเอกสารและรายละเอียดที่ยื่นไว้ตอนขอจดทะเบียนอาคาร ทั้งข้อความและภาพในการติดประกาศจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายห้องชุดด้วย และต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางครบถ้วน และต้องสำเนาให้นิติบุคคลอาคารชุดเก็บไว้ 1 ชุด
  • สัดส่วนความเป็นเจ้าของพื้นที่ส่วนกลางของแต่ละห้องชุด คิดตามสัดส่วนของขนาดห้อง

การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

  • ในกรณีขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุด เจ้าหน้าที่จะรับจดทะเบียนก็ต่อเมื่อห้องชุดดังกล่าวปลอดจากหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 โดยมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้คราวที่สุดจากนิติบุคคลอาคารชุดมาแสดง
  • โดยผู้จัดการต้องออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ ตามวรรคสอง ให้ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ได้รับคำร้องขอ

คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด

  • กำหนดให้มีคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งมาจากการลงมติของที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม โดยมีจำนวนกรรมการตั้งแต่ 3 ถึง 9 ท่าน
  • คณะกรรมการชุดมีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี
  • สามารถได้รับการแต่งตั้งซ้ำได้ แต่จำกัดการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ ภายหลังจากการแต่งตั้ง
  • ผู้จัดการนิติบุคคลต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม
  • ชื่อนิติบุคคลอาคารชุดต้องมีคำว่า “นิติบุคคลอาคารชุด” ต่อท้ายชื่อ
  • ให้สำนักงานของนิติบุคคลอาคารชุดต้องตั้งอยู่ในอาคารชุดนั้น

เรื่องการประชุมใหญ่เจ้าของร่วม

  • กำหนดให้การประชุมใหญ่ต้องจัดขึ้น อย่างน้อยปีละครั้ง ภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี
  • ระบุถึง องค์ประชุม ที่ชัดเจนในการลงมติเรื่องต่างๆ โดยแบ่งตามประเภทของมติ (เช่น มติธรรมดา มติพิเศษ)
  • ให้ความสำคัญกับการ แจ้งวาระการประชุม ล่วงหน้าเพื่อให้ลูกบ้านมีเวลาศึกษาข้อมูล

ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง

  • เจ้าของร่วมที่ค้างชําระเงินตามมาตรา ๑๘ ตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละยี่สิบต่อปี และอาจถูกระงับการให้บริการส่วนรวมหรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลางตามที่กําหนด รวมทั้งไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ด้วย

สิทธิและหน้าที่ของลูกบ้าน

  • ย้ำถึงสิทธิในการใช้ทรัพย์ส่วนกลางร่วมกับลูกบ้านคนอื่นๆ และหน้าที่ของลูกบ้านในการชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามอัตราส่วนที่กำหนด

ข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด

  • การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับใด ๆ ต้องได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม และผู้จัดการต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติ

การมีส่วนร่วมของลูกบ้าน

  • การประชุมใหญ่ต้องมีผู้มาประชุมซึ่งมีเสียงลงคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจํานวนเสียงลงคะแนนทั้งหมด หากไม่ครบองค์ประชุม ให้เรียกประชุมใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน
  • ผู้จัดการหรือคู่สมรสของผู้จัดการ เป็นประธานในการประชุมใหญ่ไม่ได้
  • มติในเรื่องดังต่อไปนี้ ต้องมีเจ้าของร่วมลงคะแนนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด
  • การแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้จัดการ
  • การกําหนดกิจการที่ผู้จัดการมีอํานาจมอบหมายให้ผู้อื่นทําแทน

บทกำหนดโทษ

  • มีการเพิ่มมาตรา 63 ถึง 73 ในหมวด 8 เพื่อกำหนดบทลงโทษสำหรับการฝ่าฝืนกฎหมายอาคารชุด เนื่องมาจากการที่กฎหมายเก่ามีข้อกำหนดให้ทำตามแต่ไม่มีการกำหนดโทษ ทำให้บังคับใช้ไม่ได้จริง

ทำไมต้องอัปเดตกฎหมายอาคารชุด ล่าสุดอยู่เสมอ

แม้ข้อกฎหมายต่าง ๆ จะดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่การติดตาม อัปเดตข้อมูลกฎหมายเกี่ยวกับอาคารชุดที่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือเพิ่มขอบเขตต่าง ๆ นั้นล้ววนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์และสิทธิของลูกบ้านหรือเจ้าของร่วมโดยตรงทั้งสิ้น รวมถึงนิติบุคคลคอนโดเองก็ต้องคอยติดตามประกาศการอัปเดตกฎหมายอาคารชุดให้มีความเข้าใจและความรู้ที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอเพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินงานดูแลทรัพย์ส่วนกลาง และสามารถตอบข้อร้องเรียนหรือแก้ไขปัญหาของลูกบ้านได้อย่างตรงจุดตรงประเด็น ลดแรงปะทะและข้อพิพาทต่าง ๆ ได้

เพราะถึงแม้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับอาคารชุดจะเป็นเรื่องที่หลายคนมองว่า “ไกลตัว” แต่การที่เรามีความรู้เกี่ยวกับอาคารชุดไว้เกี่ยวกับข้อเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมต่าง ๆ ก็จะช่วยให้เรารู้ขอบเขตสิทธิทั้งของตัวเองและขอบเขตการดำเนินงานของนิติบุคคล ทำให้ลดโอกาสที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือถูกริดรอนสิทธิที่ควรจะมี ดังนั้น APP Services จึงให้ความสำคัญกับเรื่องกฎหมายอาคารชุดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินงาน เพื่อให้การบริหารจัดการพื้นที่ทรัพย์สินส่วนกลางมีความโปร่งใส ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด


☎️ Tel: 02-086-7199

🟢 Line OA: @appmanagement

🔵 Facebook: APP Home Private Service

ติดต่อเราผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย

บทความอื่นๆ

ลูกบ้านคอนโดต้องรู้! นอกจากกฎระเบียบในการอยู่อาศัยร่วมกันที่กำหนดโดยนิติบุคคลคอนโดแล้ว เรายังต้องให้ความสำคัญกับพรบ.อาคารชุด
สำหรับงานด้านการบริหารทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดในองค์กรอย่าง “ทรัพยากรมนุษย์” ถือเป็นคีย์สำคัญของการพาองค์กรมุ่งหน้าสู่เป้าหมายและความสำเร็จ
หากเราพบว่านิติบุคคลหมู่บ้านของเรามีพฤติกรรมไม่โปร่งใส ไม่น่าไว้วางใจ หรือมีการหาผลประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลางโดยมิชอบ

ผู้เชี่ยวชาญการ
บริหารงานนิติบุคคล
และบริการจัดการ
อสังหาริมทรัพย์

ขั้นตอนบริการล้างและบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
เราทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างครบวงจร เพิ่มประสิทธิภาพ ยืดอายุการใช้งาน
ทำความสะอาดล้ำลึกทุกจุด พร้อมตรวจเช็กระบบอย่างมืออาชีพ
01 ปูผ้าใบป้องกันสิ่งสกปรกบริเวณพื้นที่ล้างทำความสะอาด
02 ตรวจสอบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
03 วัดอุณหภูมิและตรวจเช็กกระแสไฟฟ้า
04 ล้างทำความสะอาดแผงฟินคอยล์
05 ล้างทำความสะอาดแผ่นฟิลเตอร์กรองอากาศ
06 ล้างทำความสะอาดพัดลมกรงกระรอก
07 ดูดและเป่าท่อน้ำทิ้งเพื่อป้องกันการอุดตัน
08 ทำความสะอาดตัวเครื่อง Fan Coil Unit
09 เป่าไล่ความชื้นในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องปรับอากาศ
10 ฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อโรคบนแผงฟินคอยล์
11 ล้างทำความสะอาดคอยล์ร้อน (Condensing Coil)
12 ตรวจสอบแผงควบคุมและระบบการทำงานของเครื่อง
13 ตรวจวัดอุณหภูมิความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
14 ตรวจเช็กแรงดันและค่ากระแสไฟฟ้าเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่เหมาะสม
15 ส่งมอบงานให้ลูกค้า พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษา
เครื่องปรับอากาศอย่างเหมาะสม
Air conditioner cleaning and maintenance process
We provide a comprehensive air conditioner cleaning service, enhancing efficiency, extending lifespan, ensuring deep cleaning of every component and conducting a professional system check-up.
01 Lay a protective tarp to prevent dirt and debris in the cleaning area.
02 Inspect the air conditioner’s operation, including the swing panel.
03 Measure temperature and check electrical current.
04 Clean the coil fins.
05 Wash and clean the air filter.
06 Clean the squirrel cage fan.
07 Vacuum and blow out the drain pipe to prevent clogging.
08 Clean the fan coil unit (FCU) casing.
09 Blow out moisture from various parts of the air conditioner.
10 Spray disinfectant on the coil fins.
11 Clean the condensing coil (outdoor unit).
12 Inspect the control panel and overall system operation.
13 Measure the cooling temperature of the air conditioner.
14 Check pressure levels and electrical current to ensure optimal performance.
15 Deliver the completed service to the customer with expert advice on proper air conditioner maintenance.