หากเราพบว่านิติบุคคลหมู่บ้านของเรามีพฤติกรรมไม่โปร่งใส ไม่น่าไว้วางใจ หรือมีการหาผลประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลางโดยมิชอบ สมาชิกในหมู่บ้านสามารถแก้ไขจัดการปัญหานี้ได้หรือไม่ ? คำตอบคือ สมาชิกสามารถร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่มีพฤติกรรมหรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานได้ จะมีวิธีการสังเกตสัญญาณ ขั้นตอน และวิธีการร้องเรียนนิติหมู่บ้านที่ไม่โปร่งใสอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
สัญญาณที่บ่งบอกว่านิติบุคคลหมู่บ้านของคุณอาจไม่โปร่งใส
สำหรับสัญญาณที่บ่งบอกให้เราทราบว่าพฤติกรรมของนิติหมู่บ้านมีความไม่โปร่งใสนั้น สามารถสังเกตได้จากหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านต่าง ๆ ได้ รวมถึงพิจารณาจากสภาพแวดล้อมของทรัพย์ส่วนกลางไปจนถึงระบบสาธารณูปโภคในหมู่บ้านที่เราอยู่อาศัยว่านิติบุคคลได้มีการตรวจสอบ ซ่อมแซม บำรุงรักษา หรือมีการพัฒนาโครงการให้มีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่านิติบุคคลหมู่บ้านของคุณอาจไม่โปร่งใส ได้แก่
การเงินที่ไม่ชัดเจนและตรวจสอบไม่ได้
เพราะนิติบุคคลหมู่บ้านมีหน้าที่ในการดูแลเงินจัดการงบประมาณ และรายงานรายรับ รายจ่าย ไปจนถึงการจัดทำงบประมาณประจำปีให้กับสมาชิกได้รับทราบ หากพบว่ามีเส้นทางการเงินที่ไม่ชัดเจน มีการปกปิด ตกแต่งบัญชี หรือไม่สามารถตรวจสอบการใช้เงินของนิติบุคคลหมู่บ้านได้ ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่านิติหมู่บ้านของคุณอาจมีการทุจริต หรือไม่โปร่งใส

การบริหารจัดการที่ไม่เปิดเผยข้อมูล
หากพบว่าการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับหมู่บ้านหรือนิติบุคคลหมู่บ้านมีความยากลำบาก เช่น มีการจัดประชุมที่ไม่มีตัวแทนสมาชิกเข้าร่วมด้วย การไม่เผยแพร่รายงานการประชุม ปกปิดข้อมูลสำคัญ หรือใช้กลุ่มคนไม่กี่คนในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลาง ก็เป็นพฤติกรรมที่สื่อถึงความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลหมู่บ้าน
การตัดสินใจที่ไม่ฟังเสียงส่วนใหญ่ของลูกบ้าน
เป็นพฤติกรรมที่นิติบุคคลไม่ฟังเสียงของลูกบ้าน มีการตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือละเลยผลการลงมติของสมาชิก ใช้อำนาจตามใจโดยมีผลประโยชน์ของตัวเองทับซ้อน หรือเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถือเป็นพฤติกรรมที่ผิดและสื่อให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลหมู่บ้าน
โครงการหรือการจัดซื้อจัดจ้างที่น่าสงสัย
หากมีการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การต่อเติม ปรับปรุง หรือแก้ไขส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงการบ้านจัดสรรโดยว่าจ้างผู้รับเหมาโดยไม่เปรียบเทียบราคา หรือใช้วัสดุที่มีราคาสูงเกินความเป็นจริง หรืองานที่ได้คุณภาพไม่สมกับราคา เป็นไปได้ว่าอาจเกิดการสร้างผลประโยชน์ทับซ้อน หรือนิติบุคคลอาจเป็นผู้ใกล้ชิด มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้รับเหมา เป็นต้น

การละเลยหรือไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ลูกบ้านร้องเรียน
หากมีข้อร้องเรียนจากสมาชิกแต่นิติบุคคลหมู่บ้านไม่แก้ไข เพิกเฉย หรือเลือกแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิกเฉพาะกลุ่ม หรือไม่แจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ปัญหาให้สมาชิกในหมู่บ้านทราบ ก็สามารถตีความถึงความไม่โปร่งใสในการทำงานของนิติบุคคลหมู่บ้านได้
เตรียมหลักฐานสนับสนุนข้อร้องเรียน
เมื่อรู้สัญญาณความไม่โปร่งใสที่สมาชิกหมู่บ้านสามารถร้องเรียนได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการเตรียมตัวให้ข้อร้องเรียนมีน้ำหนักมากพอด้วยการเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เป็นเพียงแค่การกล่าวหาเลื่อนลอย โดยมีขั้นตอนดังนี้
รวบรวมหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ทุกครั้งที่เกิดเหตุอันแสดงถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้าน สมาชิกควรเก็บหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อร้องเรียน เช่น ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ หรือข้อความการพูดคุยจากแชท รวมถึงเอกสารต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนของเรา
พูดคุยและรวบรวมรายชื่อลูกบ้านที่ได้รับผลกระทบ
นอกจากการเตรียมหลักฐานด้านข้อมูลเอกสารแล้ว การรวมกลุ่มสมาชิกที่มีความเห็นในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจะช่วยทำให้ข้อร้องเรียนมีน้ำหนักและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
ทำความเข้าใจข้อกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหมู่บ้าน
สำหรับหมู่บ้านมักจะมีข้อกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522, ข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร, เอกสารสัญญาซื้อขาย ไปจนถึงรายงานการประชุมและเอกสารที่นิติบุคคลได้ทำการเผยแพร่ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและเป็นการเตรียมรากฐานที่แข็งแกร่งก่อนทำการร้องเรียน เพื่อไม่ใให้ประเด็นของเราถูกตีตกไปอย่างเปล่าประโยชน์
ช่องทางการร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่ไม่โปร่งใส
เมื่อเตรียมหลักฐานและเตรียมความพร้อมในการร้องเรียนได้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ต่อมาคือขั้นตอนการส่งเรื่องเพื่อร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่พบว่ามีพฤติกรรมไม่โปร่งใส โดยสามารถทำได้ 3 ช่องทางหลัก ๆ ดังนี้
เจรจากับนิติบุคคลโดยตรง
สำหรับขั้นแรกคือการที่สมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรเตรียมหลักฐาน ข้อร้องเรียนต่าง ๆ รวมกลุ่มกันเข้าไปเจรจากับนิติบุคคลโดยตรงเพื่อพูดคุยถึงเหตุผล ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขร่วมกันอย่างสันติ หากจบที่ขั้นตอนนี้ได้ก็จะส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างนิติบุคคลและสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรร เป็นการประนีประนอมต่อกัน

ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการหมู่บ้าน
หากการเจรจากับนิติบุคคลโดยตรงไม่เป็นผล ขั้นถัดมาคือการร้องเรียนไปยังคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้าน เพื่อให้พิจารณาประเด็นที่สื่อให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลพร้อมทั้งหลักฐานให้พิจารณาดำเนินการตรวจสอบและตัดสินใจหาทางออกต่อไป
ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกสามารถยื่นร้องเรียนเรื่องความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกรมที่ดิน, สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), ศูนย์ดำรงธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานีตำรวจ (หากมีความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับทางอาญา) นอกจากนี้หากยังหาทางออกไม่ได้ ไม่สามารถเจรจากันได้ลงตัว อาจต้องดำเนินการต่อไปที่การส่งฟ้องต่อศาลให้พิจารณาหาทางออก
นิติบุคคลหมู่บ้าน ไม่โปร่งใสทำอย่างไร? วิธีร้องเรียนนิติหมู่บ้าน ให้ตรงจุด
หากเราพบว่านิติบุคคลหมู่บ้านของเรามีพฤติกรรมไม่โปร่งใส ไม่น่าไว้วางใจ หรือมีการหาผลประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลางโดยมิชอบ สมาชิกในหมู่บ้านสามารถแก้ไขจัดการปัญหานี้ได้หรือไม่ ? คำตอบคือ สมาชิกสามารถร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่มีพฤติกรรมหรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานได้ จะมีวิธีการสังเกตสัญญาณ ขั้นตอน และวิธีการร้องเรียนนิติหมู่บ้านที่ไม่โปร่งใสอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
สัญญาณที่บ่งบอกว่านิติบุคคลหมู่บ้านของคุณอาจไม่โปร่งใส
สำหรับสัญญาณที่บ่งบอกให้เราทราบว่าพฤติกรรมของนิติหมู่บ้านมีความไม่โปร่งใสนั้น สามารถสังเกตได้จากหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านต่าง ๆ ได้ รวมถึงพิจารณาจากสภาพแวดล้อมของทรัพย์ส่วนกลางไปจนถึงระบบสาธารณูปโภคในหมู่บ้านที่เราอยู่อาศัยว่านิติบุคคลได้มีการตรวจสอบ ซ่อมแซม บำรุงรักษา หรือมีการพัฒนาโครงการให้มีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่านิติบุคคลหมู่บ้านของคุณอาจไม่โปร่งใส ได้แก่
การเงินที่ไม่ชัดเจนและตรวจสอบไม่ได้
เพราะนิติบุคคลหมู่บ้านมีหน้าที่ในการดูแลเงินจัดการงบประมาณ และรายงานรายรับ รายจ่าย ไปจนถึงการจัดทำงบประมาณประจำปีให้กับสมาชิกได้รับทราบ หากพบว่ามีเส้นทางการเงินที่ไม่ชัดเจน มีการปกปิด ตกแต่งบัญชี หรือไม่สามารถตรวจสอบการใช้เงินของนิติบุคคลหมู่บ้านได้ ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่านิติหมู่บ้านของคุณอาจมีการทุจริต หรือไม่โปร่งใส
การบริหารจัดการที่ไม่เปิดเผยข้อมูล
หากพบว่าการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับหมู่บ้านหรือนิติบุคคลหมู่บ้านมีความยากลำบาก เช่น มีการจัดประชุมที่ไม่มีตัวแทนสมาชิกเข้าร่วมด้วย การไม่เผยแพร่รายงานการประชุม ปกปิดข้อมูลสำคัญ หรือใช้กลุ่มคนไม่กี่คนในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลาง ก็เป็นพฤติกรรมที่สื่อถึงความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลหมู่บ้าน

การตัดสินใจที่ไม่ฟังเสียงส่วนใหญ่ของลูกบ้าน
เป็นพฤติกรรมที่นิติบุคคลไม่ฟังเสียงของลูกบ้าน มีการตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือละเลยผลการลงมติของสมาชิก ใช้อำนาจตามใจโดยมีผลประโยชน์ของตัวเองทับซ้อน หรือเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถือเป็นพฤติกรรมที่ผิดและสื่อให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลหมู่บ้าน
โครงการหรือการจัดซื้อจัดจ้างที่น่าสงสัย
หากมีการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การต่อเติม ปรับปรุง หรือแก้ไขส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงการบ้านจัดสรรโดยว่าจ้างผู้รับเหมาโดยไม่เปรียบเทียบราคา หรือใช้วัสดุที่มีราคาสูงเกินความเป็นจริง หรืองานที่ได้คุณภาพไม่สมกับราคา เป็นไปได้ว่าอาจเกิดการสร้างผลประโยชน์ทับซ้อน หรือนิติบุคคลอาจเป็นผู้ใกล้ชิด มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้รับเหมา เป็นต้น
การละเลยหรือไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ลูกบ้านร้องเรียน
หากมีข้อร้องเรียนจากสมาชิกแต่นิติบุคคลหมู่บ้านไม่แก้ไข เพิกเฉย หรือเลือกแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิกเฉพาะกลุ่ม หรือไม่แจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ปัญหาให้สมาชิกในหมู่บ้านทราบ ก็สามารถตีความถึงความไม่โปร่งใสในการทำงานของนิติบุคคลหมู่บ้านได้
เตรียมหลักฐานสนับสนุนข้อร้องเรียน
เมื่อรู้สัญญาณความไม่โปร่งใสที่สมาชิกหมู่บ้านสามารถร้องเรียนได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการเตรียมตัวให้ข้อร้องเรียนมีน้ำหนักมากพอด้วยการเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เป็นเพียงแค่การกล่าวหาเลื่อนลอย โดยมีขั้นตอนดังนี้
รวบรวมหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ทุกครั้งที่เกิดเหตุอันแสดงถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้าน สมาชิกควรเก็บหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อร้องเรียน เช่น ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ หรือข้อความการพูดคุยจากแชท รวมถึงเอกสารต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนของเรา

พูดคุยและรวบรวมรายชื่อลูกบ้านที่ได้รับผลกระทบ
นอกจากการเตรียมหลักฐานด้านข้อมูลเอกสารแล้ว การรวมกลุ่มสมาชิกที่มีความเห็นในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจะช่วยทำให้ข้อร้องเรียนมีน้ำหนักและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
ทำความเข้าใจข้อกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหมู่บ้าน
สำหรับหมู่บ้านมักจะมีข้อกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522, ข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร, เอกสารสัญญาซื้อขาย ไปจนถึงรายงานการประชุมและเอกสารที่นิติบุคคลได้ทำการเผยแพร่ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและเป็นการเตรียมรากฐานที่แข็งแกร่งก่อนทำการร้องเรียน เพื่อไม่ใให้ประเด็นของเราถูกตีตกไปอย่างเปล่าประโยชน์
ช่องทางการร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่ไม่โปร่งใส
เมื่อเตรียมหลักฐานและเตรียมความพร้อมในการร้องเรียนได้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ต่อมาคือขั้นตอนการส่งเรื่องเพื่อร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่พบว่ามีพฤติกรรมไม่โปร่งใส โดยสามารถทำได้ 3 ช่องทางหลัก ๆ ดังนี้
เจรจากับนิติบุคคลโดยตรง
สำหรับขั้นแรกคือการที่สมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรเตรียมหลักฐาน ข้อร้องเรียนต่าง ๆ รวมกลุ่มกันเข้าไปเจรจากับนิติบุคคลโดยตรงเพื่อพูดคุยถึงเหตุผล ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขร่วมกันอย่างสันติ หากจบที่ขั้นตอนนี้ได้ก็จะส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างนิติบุคคลและสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรร เป็นการประนีประนอมต่อกัน
ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการหมู่บ้าน
หากการเจรจากับนิติบุคคลโดยตรงไม่เป็นผล ขั้นถัดมาคือการร้องเรียนไปยังคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้าน เพื่อให้พิจารณาประเด็นที่สื่อให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลพร้อมทั้งหลักฐานให้พิจารณาดำเนินการตรวจสอบและตัดสินใจหาทางออกต่อไป
ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกสามารถยื่นร้องเรียนเรื่องความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกรมที่ดิน, สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), ศูนย์ดำรงธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานีตำรวจ (หากมีความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับทางอาญา) นอกจากนี้หากยังหาทางออกไม่ได้ ไม่สามารถเจรจากันได้ลงตัว อาจต้องดำเนินการต่อไปที่การส่งฟ้องต่อศาลให้พิจารณาหาทางออก
เพราะ APP Service เข้าใจเป็นอย่างดีว่าการบริหารดูแลหมู่บ้านของนิติบุคคล “ความโปร่งใสในการทำงาน” ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้นิติบุคคลมีความน่าเชื่อถือ ต้องไม่สร้างความเคลือบแคลงใจให้กับสมาชิกลูกบ้าน มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน รายงานทางการเงิน รายงานการแก้ไขปัญหาร้องเรียน และผลการประชุมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความขัดแย้ง ข้อสงสัยเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินงาน และช่วยให้เกิดการบริหารจัดการภายในหมู่บ้านที่ราบรื่น ไร้ปัญหาร้องเรียน
☎️ Tel: 02-086-7199
🟢 Line OA: @appmanagement
🔵 Facebook: APP Home Private Service