ปัญหาของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

5 ปัญหาของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พร้อมหน้าที่ และวิธีแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ

เมษายน 8, 2025

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการ และดูแลผลประโยชน์ร่วมกันกับลูกบ้าน  โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ส่วนกลาง และการบริหารค่าส่วนกลางหมู่บ้าน หากไม่มีนิติบุคคลหรือขาดการบริหารที่ดี มักจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยโดยตรง บทความนี้ได้รวบรวม 5 ปัญหาของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พร้อมหน้าที่ และวิธีแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร คืออะไร?

องค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เพื่อช่วยดูแลพื้นที่ส่วนกลาง และการจัดการเรื่องต่าง ๆ ร่วมกันกับเจ้าของบ้าน เช่น การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ควบคุมดูแลพื้นที่ให้มีระเบียบ หรือบริหารงานบุคคล โดยมีสถานะเป็นนิติบุคคลอย่างเป็นทางการ

หน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

  1. บริหารจัดการพื้นที่ส่วนกลาง มีหน้าที่ดูแล และบำรุงพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ถือเป็นหน้าที่นิติบุคคลที่สำคัญมาก
  2. เก็บและบริหารค่าส่วนกลางหมู่บ้าน จัดเก็บเงินค่าส่วนกลางลูกบ้านอย่างโปร่งใส พร้อมบริหารงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การรักษาความปลอดภัย การทำความสะอาด หรือซ่อมแซมโครงสร้างที่ชำรุด
  3. รักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้าน วางระบบความปลอดภัย โดยมีการควบคุมการเข้าออกของบุคคลภายนอก และมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกบ้าน
  4. ดูแลการใช้ชีวิตร่วมกันของลูกบ้าน กำหนดกฎระเบียบความเป็นอยู่ให้กับลูกบ้าน เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย

5 ปัญหายอดฮิตของนิติบุคคลหมู่บ้าน

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

1. การไม่จ่ายค่าส่วนกลางหมู่บ้าน

เมื่อลูกบ้านบางรายไม่ชำระค่าส่วนกลางหมู่บ้านตามกำหนด ทำให้มียอดค้างชำระสะสม ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการด้านการเงินในการดูแล หรือบำรุงพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ระบบไฟฟ้า และระบบความปลอดภัย

วิธีการแก้ไข

  • ส่งหนังสือแจ้งเตือนแบบทางการ ออกใบแจ้งยอดค้างชำระ พร้อมกำหนดเวลา และชี้แจ้งผลกระทบหากลูกบ้านไม่ดำเนินการ
  • ใช้ระบบติดตามอัตโนมัติ ใช้ระบบจัดการนิติบุคคล หรือแอปพลิเคชันจัดการนิติบุคคล แจ้งเตือนจัดทำรายงานสถานะของยอดค้างชำระให้ลูกบ้านรับรู้แบบเรียลไทม์ และสามารถชำระได้สะดวกยิ่งขึ้น
  • แจ้งระงับสิทธิ์การใช้พื้นที่ส่วนกลาง นิติบุคคลแจ้งงดการใช้พื้นที่ส่วนกลางต่าง ๆ เช่น สระว่ายน้ำ และบริการที่เกี่ยวข้อง

2. การดูแลพื้นที่ส่วนกลางไม่ทั่วถึง

โดยเฉพาะหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ส่วนกลางหลายจุด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และสวนหย่อม ทำให้บางพื้นที่ถูกละเลยทางด้านการดูแล ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อภาพลักษณ์ของหมู่บ้าน และความไม่เท่าเทียมในการดูแล

วิธีการแก้ไข

  • จัดทำแผนบำรุงรักษารายเดือน ควรจัดทำแผนการดูแลในทุกพื้นที่ เพื่อให้เข้าไปดูแลพื้นที่ส่วนกลางได้อย่างครบถ้วน
  • กำหนดพื้นที่รับผิดชอบเฉพาะจุด ให้เจ้าหน้าที่ดูแลแต่ละจุดอย่างชัดเจน ช่วยให้การติดตามผล และการบำรุงรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เปิดช่องทางให้ลูกบ้านแจ้งปัญหา เปิดช่องทางให้ลูกบ้านแจ้งปัญหาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือกลุ่ม Line หมู่บ้าน เพื่อให้ลูกบ้านสามารถแจ้งปัญหาหรือเสนอแนะได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

3. ความขัดแย้งระหว่างคณะกรรมการหมู่บ้านกับลูกบ้าน

ปัญหานิติบุคคลมักเกิดจากความไม่โปร่งใสในการบริหาร เช่น ไม่เปิดเผยงบประมาณอย่างชัดเจน การตัดสินใจของคณะกรรมการหมู่บ้านที่ขาดการมีส่วนร่วมจากลูกบ้าน

วิธีการแก้ไข

  • จัดทำหนังสือรายงานผล ทำหนังสือรายงานผลดำเนินการเกี่ยวกับพัฒนาภายในชุมชนอย่างโปร่งใส เช่น การสรุปเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการภายในหมู่บ้าน
  • จัดประชุมประจำปีร่วมกับลูกบ้าน จัดประชุมเพื่อรายงานผลดำเนินงาน ประเมินงบประมาณ และรับฟังความคิดเห็น พร้อมเปิดโอกาสให้ลูกบ้านมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
  • ควบคุม ดูแล และบังคับใช้กฎระเบียบอย่างเป็นธรรม นิติบุคคลควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อตรวจสอบข้อร้องเรียน และต้องมีกฎข้อบังคับหมู่บ้านจัดสรรอย่างชัดเจน

4. การจัดการบัญชีและงบประมาณไม่เป็นระบบ

ส่งผลให้การบริหารค่าใช้จ่ายสำหรับพื้นที่ส่วนกลางไม่มีประสิทธิภาพ ขาดความโปร่งใส และยากต่อการตรวจสอบ สร้างความไม่ไว้วางใจให้กับลูกบ้าน

วิธีการแก้ไข

  • จัดทำบัญชีงบประมาณ จัดทำบัญชีงบประมาณรายปี แยกรายรับ-รายจ่ายให้สามารถตรวจสอบได้
  • ควบคุมดูแลรายรับ – รายจ่าย จัดการวางแผนเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนโยบายที่กำหนด
  • จัดทำรายงานงบประมาณ และเปิดเผยข้อมูลทางการเงินให้กับลูกบ้าน จัดทำรายงานวิเคราะห์ และเปิดเผยเกี่ยวกับงบประมาณตามไตรมาส ให้ลูกบ้านเข้าถึงได้

5. การจัดกิจกรรมภายในหมู่บ้าน

เป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่บ้าน แต่ก็นำไปสู่ปัญหาที่นิติบุคคล ต้องเจอทั้งในเรื่องของความเห็นต่างกับของลูกบ้าน ข้อจำกัดด้านงบประมาณ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรม

วิธีการแก้ไข

  • ประชาสัมพันธ์และสื่อสารข้อมูล เผยแพร่ประกาศและข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรม หรือจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมภายในหมู่บ้าน ในช่องทางต่าง ๆ เช่น ป้ายประกาศ กลุ่ม Line หมู่บ้านหรือสื่อโซเชียลมีเดีย
  • จัดกิจกรรมที่ตอบโจทย์ จัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายและน่าสนใจ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจเป็นของรางวัล เพื่อกระตุ้นให้ลูกบ้านอยากเข้าร่วมกิจกรรม
  • ประเมินผลหลังจบกิจกรรม รวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วม ประเมินกิจกรรมว่าตอบโจทย์หรือไม่ เพื่อนำไปปรับปรุงในกิจกรรมต่อไป

ประโยชน์ของการมีนิติบุคคลที่ดี

  • ดูแลพื้นที่ส่วนกลางเป็นระบบ นิติบุคคลที่มีคุณภาพ จะมีการวางแผนเพื่อดูแลพื้นที่ส่วนกลาง ทำให้ลูกบ้านได้รับประโยชน์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีในหมู่บ้าน
  • บริหารงบประมาณโปร่งใส การจัดเก็บค่าส่วนกลางหมู่บ้าน และค่าใช้จ่ายมีความชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกบ้าน
  • มีระบบรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน นิติบุคคลสามารถจัดการกับระบบรักษาความปลอดภัย เช่น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิด ช่วยให้ลูกบ้านรู้สึกปลอดภัย
  • เป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหา นิติบุคคลจะช่วยประสานงาน และเจรจาเกี่ยวกับปัญหา รวมถึงข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับลูกบ้านอย่างเป็นระบบ
  • ส่งเสริมกิจกรรมในชุมชน ช่วยส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในหมู่บ้าน

การมีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นสิ่งสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตของลูกบ้าน ทั้งในเรื่องความสะดวก ความปลอดภัย และความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน อย่างไรก็ตามการบริหารงานด้านนิติบุคคลย่อมเกิดปัญหาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการเงิน การบริหาร และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งล้วนส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกบ้านทั้งสิ้น

ดังนั้นการให้บริษัทบริหารนิติบุคคล อย่าง APP Services เข้ามาดูแลและบริหารจัดการนิติบุคคล จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของลูกบ้านเป็นระบบ โปร่งใส และตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


☎️ Tel: 02-086-7199

🟢 Line OA: @appmanagement

🔵 Facebook: APP Home Private Service

ติดต่อเราผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย

บทความอื่นๆ

ทำความรู้จักกับ Facility Management การบริหารจัดการอาคารอย่างเป็นระบบ ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย น่าอยู่ และยืดอายุการใช้งาน
TM30 คืออะไร? หลายคนที่เป็นเจ้าของบ้านหรือผู้ให้เช่าอาจยังไม่รู้ว่า การมีชาวต่างชาติเข้ามาพักอาศัย จำเป็นต้องแจ้งข้อมูลกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองผ่านแบบฟอร์ม บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ TM30 ใครที่มีหน้าที่ต้องแจ้ง และสรุปขั้นตอนการดำเนินการแจ้งอย่างถูกต้อง
เจอปัญหาข้างห้องเสียงดัง ทำอย่างไรได้บ้าง ? เสียงรบกวนจากห้องข้าง ๆ ที่ดังเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเสียงเปิดเพลง เสียงพูดคุย หรือเสียงสัตว์เลี้ยงที่ส่งเสียงรบกวนผู้อยู่อาศัย

ผู้เชี่ยวชาญการ
บริหารงานนิติบุคคล
และบริการจัดการ
อสังหาริมทรัพย์

ขั้นตอนบริการล้างและบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
เราทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างครบวงจร เพิ่มประสิทธิภาพ ยืดอายุการใช้งาน
ทำความสะอาดล้ำลึกทุกจุด พร้อมตรวจเช็กระบบอย่างมืออาชีพ
01 ปูผ้าใบป้องกันสิ่งสกปรกบริเวณพื้นที่ล้างทำความสะอาด
02 ตรวจสอบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
03 วัดอุณหภูมิและตรวจเช็กกระแสไฟฟ้า
04 ล้างทำความสะอาดแผงฟินคอยล์
05 ล้างทำความสะอาดแผ่นฟิลเตอร์กรองอากาศ
06 ล้างทำความสะอาดพัดลมกรงกระรอก
07 ดูดและเป่าท่อน้ำทิ้งเพื่อป้องกันการอุดตัน
08 ทำความสะอาดตัวเครื่อง Fan Coil Unit
09 เป่าไล่ความชื้นในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องปรับอากาศ
10 ฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อโรคบนแผงฟินคอยล์
11 ล้างทำความสะอาดคอยล์ร้อน (Condensing Coil)
12 ตรวจสอบแผงควบคุมและระบบการทำงานของเครื่อง
13 ตรวจวัดอุณหภูมิความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
14 ตรวจเช็กแรงดันและค่ากระแสไฟฟ้าเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่เหมาะสม
15 ส่งมอบงานให้ลูกค้า พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษา
เครื่องปรับอากาศอย่างเหมาะสม
Air conditioner cleaning and maintenance process
We provide a comprehensive air conditioner cleaning service, enhancing efficiency, extending lifespan, ensuring deep cleaning of every component and conducting a professional system check-up.
01 Lay a protective tarp to prevent dirt and debris in the cleaning area.
02 Inspect the air conditioner’s operation, including the swing panel.
03 Measure temperature and check electrical current.
04 Clean the coil fins.
05 Wash and clean the air filter.
06 Clean the squirrel cage fan.
07 Vacuum and blow out the drain pipe to prevent clogging.
08 Clean the fan coil unit (FCU) casing.
09 Blow out moisture from various parts of the air conditioner.
10 Spray disinfectant on the coil fins.
11 Clean the condensing coil (outdoor unit).
12 Inspect the control panel and overall system operation.
13 Measure the cooling temperature of the air conditioner.
14 Check pressure levels and electrical current to ensure optimal performance.
15 Deliver the completed service to the customer with expert advice on proper air conditioner maintenance.