
คุณเคยสงสัยไหมว่า “ค่าส่วนกลาง” ที่ต้องจ่ายทุกเดือนคืออะไร และทำไมลูกบ้านทั้งในคอนโด หรือบ้านจัดสรร ต้องจ่ายตลอดทั้งปี? ค่าส่วนกลางไม่ใช่แค่ค่าใช้จ่ายธรรมดา แต่เป็นกลไกสำคัญในการดูแลพื้นที่ส่วนกลางของโครงการ เช่น ลิฟต์ ฟิตเนส หรือค่าน้ำไฟสาธารณะ มาทำความเข้าใจว่าคืออะไร คิดอย่างไร และจะตรวจสอบให้คุ้มค่าได้อย่างไร
ค่าส่วนกลางคืออะไร
ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัยต้องชำระให้กับนิติบุคคล เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลรักษา และซ่อมแซมพื้นที่ส่วนกลางของโครงการ เช่น สระว่ายน้ำ หมู่บ้าน สนามเด็กเล่น ฟิตเนส ลิฟต์ หรือระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อให้พื้นที่ส่วนรวมได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และพร้อมใช้งานเสมอ
ค่าส่วนกลางคิดอย่างไร มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง

1. การคำนวณตามพื้นที่
คำนวณตามขนาดพื้นที่ของห้องหรือบ้านที่คุณเป็นเจ้าของ เช่น หากคุณมีพื้นที่มาก จะต้องจะจ่ายค่าส่วนกลางมากตามสัดส่วน
สูตรการคำนวณรายเดือน
ค่าส่วนกลางรายเดือน = ขนาดพื้นที่ (ตร.ม.) x อัตราค่าส่วนกลาง (บาท/ตร.ม./เดือน)
ตัวอย่าง : หากคุณมีห้องขนาด 40 ตร.ม. และโครงการคิดค่าส่วนกลางในอัตรา 50 บาท/ตร.ม./เดือน
ค่าส่วนกลาง = 40 x 50 = 2,000 บาท/เดือน หรือ 24,000 บาท/ปี
2. อัตราค่าส่วนกลางตามกำหนด
อัตราค่าส่วนกลางกำหนดโดยนิติบุคคล หรือผู้จัดการโครงการบ้านจัดสรร ขึ้นอยู่กับระดับบริการ สิ่งอำนวยความสะดวก และค่าใช้จ่ายในโครงการ
อัตราค่าส่วนกลาง
ตัวอย่าง : คอนโดมิเนียมระดับเริ่มต้น อาคารสูง 8 ชั้น ไม่มีลิฟต์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน อัตราค่าส่วนกลางประมาณ 25-35 บาท/ตร.ม./เดือน
3. ประเภทของโครงการที่มีผลต่ออัตราค่าส่วนกลาง
คอนโดมิเนียมหรือบ้านจัดสรร แต่ละประเภทจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่แตกต่างกัน ทำให้อัตราค่าส่วนกลางไม่เท่ากัน
อัตราค่าส่วนกลางตามประเภทโครงการ
ตัวอย่าง : หมู่บ้านจัดสรรขนาดกลาง มีสวนส่วนกลาง คลับเฮาส์ ผู้รักษาความปลอดภัยทางเข้าออก แต่ไม่มีฟิตเนสหรือสระว่ายน้ำ อัตราค่าส่วนกลางโดยประมาณ 800–1,200 บาท/เดือน/หลัง
วิธีตรวจสอบการใช้จ่ายค่าส่วนกลาง

1. ขอสำเนางบด้านการเงินประจำปี
นิติบุคคลอาคารชุด หรือ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีหน้าที่จัดทำงบการเงินประจำปี ประกอบด้วย รายรับ-รายจ่ายค่าส่วนกลาง รายการบำรุงรักษาระบบ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด เจ้าของร่วมสามารถขอสำเนารายงานการเงิน เพื่อตรวจสอบได้
2. ตรวจสอบรายงานบัญชีรายเดือนหรือรายไตรมาส
บางโครงการจะสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าส่วนกลาง ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น กระดานประกาศ กลุ่มไลน์ หรือเว็บไซต์ของนิติบุคคลคอนโด เพื่อให้เจ้าของร่วมตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส ช่วยให้เห็นแนวโน้มของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้
3. เข้าร่วมประชุมใหญ่เจ้าของร่วม
การประชุมใหญ่ประจำปีของนิติบุคคล จะมีการนำเสนองบประมาณปีถัดไป และรายงานการใช้งบประมาณการเงินในปีที่ผ่านมา จึงเป็นโอกาสสำคัญที่เจ้าของห้องจะได้ร่วมพูดคุย สอบถาม หรือเสนอแนวทางการใช้จ่ายอย่างเหมาะสม
4. ขอรายละเอียดของรายการค่าใช้จ่าย
หากเจ้าของห้องหรือผู้อยู่อาศัยพบเห็น รายการใช้จ่ายค่าส่วนกลางที่ไม่ชัดเจน เช่น ค่าจ้างบุคลากร ค่าอุปกรณ์ ค่าบำรุงระบบต่าง ๆ สามารถทำหนังสือสอบถามนิติบุคคล เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามสิทธิที่ระบุไว้ในกฎหมายค่าส่วนกลาง
ไม่จ่ายค่าส่วนกลางจะเกิดผลอย่างไร

การละเลยและไม่ชำระค่าส่วนกลาง ส่งผลกระทบมากกว่าที่หลายคนคิด เนื่องจากค่าส่วนกลางเป็นภาระผูกพันตามกฎหมาย ที่เจ้าของห้องหรือบ้านต้องรับผิดชอบร่วมกัน หรือไม่ดำเนินการชำระค่าส่วนกลาง อาจนำไปสู่ผลกระทบดังนี้
1. ค่าปรับและดอกเบี้ย
นิติบุคคลมีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากยอดค้างชำระค่าส่วนกลาง ตามอัตราที่ระบุไว้ในข้อบังคับของโครงการอาจเริ่มตั้งแต่ 7.5% ต่อปี หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของโครงการ หากมียอดค้างสะสมจะทำให้ยอดรวมที่ต้องชำระสูงขึ้นเรื่อย ๆ
2. ถูกจำกัดในการใช้พื้นที่ส่วนกลาง
เจ้าของร่วมที่ไม่จ่ายค่าส่วนกลาง จะถูกระงับสิทธิในการใช้พื้นที่ส่วนกลาง เช่น สระว่ายน้ำ ฟิตเนส หรือห้องประชุม ซึ่งถือเป็นมาตรการเบื้องต้นที่่นิติบุคคลใช้เพื่ิอจูงใจให้เจ้าของห้องปฏิบัติตาม
3. ถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย
หากเพิกเฉยเป็นเวลานาน นิติบุคคลสามารถฟ้องร้องค่าส่วนกลางค้างชำระได้ และศาลอาจมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์หรือบังคับจ่ายในภายหลัง
จ่ายค่าส่วนกลางอย่างไรให้คุ้มค่า
1. ตรวจสอบงบการเงินของนิติบุคคล
นิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงินประจำปี ซึ่งประกอบด้วยรายรับ-รายจ่าย และรายการบำรุงรักษาต่าง ๆ เจ้าของร่วมสามารถขอตรวจสอบเอกสารเหล่านี้ได้ เพื่อดูเงิรที่คุณจ่ายไปในแต่ละปีถูกนำไปใช้ใน การบริหารค่าส่วนกลาง ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่
2. เข้าร่วมประชุมเข้าของร่วม
การประชุมใหญ่ประจำปีของนิติบุคคล ถือเป็นการประชุมที่สำคัญในการรับทราบแผนการใช้จ่าย การตั้งงบประมาณค่าส่วนกลาง และการตัดสินใจเรื่องสำคัญต่าง ๆ หากเข้าร่วมสามารถใช้สิทธิออกเสียง และแสดงความคิดเห็นได้โดยตรง
3. ขอตรวจสอบรายจ่ายได้
หากพบว่ารายการใช้จ่ายค่าส่วนกลางที่มีความไม่ชัดเจน หรือสงสัยว่าค่าใช้จ่ายบางรายการไม่เหมาะสมเจ้าของห้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอตรวจสอบเอกสาร และขอคำชี้แจงจากคณะกรรมการนิติบุคคลได้ตามกฎหมาย
4. ร่วมกันเสนอแนะแผนงานขอนิติ
เจ้าของห้องมีสิทธิร่วมเสนอแนวทางหรือแผนงานพัฒนาโครงการ ที่ช่วยให้การใช้พื้นที่ส่วนกลางเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย เพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมความเป็นชุมชน
ค่าส่วนกลาง ไม่ใช่เพียงแค่ค่าใช้จ่ายประจำที่เจ้าของห้องต้องจ่าย แต่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้โครงการน่าอยู่ มีมาตรฐาน และช่วยรักษามูลค่าทรัพย์สินของคุณในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การจ่ายค่าส่วนกลางจะยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น หากเจ้าของร่วมเข้าใจสิทธิ หน้าที่ของตัวเอง พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่และดูแลส่วนกลางร่วมกับนิติบุคคล ดังนั้นการไม่ละเลย และชำระค่าส่วนกลางให้ตรงเวลา จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของห้องควรใส่ใจ เพื่อให้การบริหารจัดการค่าส่วนกลาง และนิติบุคคลเป็นเรื่องง่าย เราขอแนะนำ APP SERVICE ผู้ให้บริการด้านนิติบุคคลที่มีระบบบริหารจัดการแบบครบวงจร พร้อมด้วยทีมงานมืออาชีพ ที่พร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ
☎️ Tel: 02-086-7199
🟢 Line OA: @appmanagement
🔵 Facebook: APP Home Private Service