
TM30 คืออะไร? หลายคนที่เป็นเจ้าของบ้านหรือผู้ให้เช่าอาจยังไม่รู้ว่า การมีชาวต่างชาติเข้ามาพักอาศัย จำเป็นต้องแจ้งข้อมูลกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองผ่านแบบฟอร์ม บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ TM30 ใครที่มีหน้าที่ต้องแจ้ง และสรุปขั้นตอนการดำเนินการแจ้งอย่างถูกต้อง เพื่อให้คุณสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างครบถ้วน
TM30 คืออะไร?
แบบฟอร์มแจ้งข้อมูลที่พักอาศัยของชาวต่างชาติที่มาพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเจ้าของห้องพัก มีหน้าที่แจ้งต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติกฎหมายคนเข้าเมือง มาตรา 38 พ.ศ. 2522 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าชาวต่างชาติพักอาศัยอยู่ที่ไหน
ใครต้องแจ้งTM30?
ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ผู้ที่มีหน้าที่ต้องแจ้งได้แก่
1. เจ้าของบ้าน
ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของที่อยู่อาศัยที่มีชาวต่างชาติเข้าพัก มีหน้าที่ในการแจ้งข้อมูลหากมีชาวต่างชาติเข้ามาพักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว
2. ผู้ครอบครองหรือผู้ควบคุมที่พัก
ผู้ดูแลหรอครอบครองที่พักไม่ใช่เจ้าของโดยตรง เช่น ผู้เช่าหลักที่นำห้องพักไปปล่อยเช่าช่วงห้องพักว่าง หรือผู้จัดการหอพักที่มีหน้าที่ดูแล และควบคุมการใช้สถานที่ ต้องแจ้งตามกฎหมายกำหนด
3. ผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
ผู้ให้เช่าทรัพย์สิน เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม หรืออพาร์ตเมนต์แก่ชาวต่างชาติ มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องแจ้งต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ไม่ว่าจะเป็นเช่ารายวัน รายเดือน และรายปี ต้องรายงานการเข้าพักของผู้เช่าให้ถูกต้องตามข้อกำหนด
4. ผู้จัดการโรงแรมหรือที่พัก
กรณีของโรงแรม รีสอร์ท โฮสเทล ผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบต้องแจ้งการเข้าพักของผู้พักอาศัยชาวต่างชาติทุกครั้ง เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามระเบียบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อควบคุมการติดตามข้อมูลบุคคลต่างชาติที่เข้ามาในประเทศอย่างเป็นระบบ
เอกสารที่ใช้ในการแจ้ง TM30

1. เอกสารของผู้แจ้ง
- ใช้สำเนาบัตรประชาชน สำหรับผู้แจ้งเป็นคนไทย เช่น เจ้าของบ้าน หรือผู้ให้เช่า ต้องเตรียมสำเนาบัตรประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ
- ใช้สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) สำหรับผู้แจ้งเป็นชาวต่างชาติที่มีสิทธิควบคุมหรือครอบครองที่พัก เช่น ชาวต่างชาติถือกรรมสิทธิ์คอนโดในไทย และทำการปล่อยเช่าคอนโด
2. เอกสารของผู้เช่าชาวต่าง
- สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ใช้ยืนยันตัวตน และข้อมูลพื้นฐานของชาวต่างชาติ เช่น ชื่อ นามสกุล และเลขที่หนังสือเดินทาง
- สำเนาหน้าวีซ่า (Visa Page) สำเนาหน้าสแตมป์วีซ่าที่เจ้าหน้าที่่ตรวจคนเข้าเมืองประทับในหนังสือเดินทาง เพื่อยืนยันประเภท และสถานะการเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย เช่น วีซ่านักท่องเที่ยว วีซ่าทำงาน หรือวีซ่าเกษียณอายุ
- สำเนาบัตรขาเข้า–ขาออก การ์ด ตม.6 จากกรอกข้อมูลเมื่อเดินทางเข้ามาประเทศไทย เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงวันเดินทางเข้าไทย และประเภทการเดินทาง
3. เอกสารเกี่ยวกับที่พัก
- สำเนาโฉลดที่ดิน หรือหนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ห้องชุด (คอนโด) หลักฐานแสดงว่าเจ้าของมีกรรมสิทธ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ชาวต่างเข้ามาพักอาศัย
- สำเนาสัญญาเช่า หรือสัญญาอนุญาตให้พักอาศัย ใช้ในกรณีที่ผู้แจ้งไม่ได้เป็นเจ้าของโดยตรง แต่มีสิทธิ์ให้เช่าหรืออนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าพัก เช่น การปล่อยเช่าห้องหรือบ้านให้ชาวต่างชาติ
- ใบแจ้งหนี้ค่าสาธารณูปโภค ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ร้องขอใบแจ้งหนี้เพื่อยืนยันความสัมพันธ์ของผู้แจ้งกับที่อยู่โดยมีการเข้าอยู่อาศัยจริง
4. แบบฟอร์ม TM30
- ข้อมูลผู้แจ้ง ผู้แจ้งต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเอง ได้แก่
- ชื่อ-นามสกุล
- หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขหนังสือเดินทาง
- เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
- ที่อยู่ของสถานที่พัก ผู้แจ้งต้องระบุข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ของพักที่ชาวต่างชาติอาศัยอยู่ เช่น
- บ้านเลขที่ หมู่บ้าน ถนน
- แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
- รหัสไปรษณีย์
- ประเภทของที่พัก เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด และหอพัก
- ข้อมูลผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติ กรอกข้อมูลของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นอย่างครบถ้วน ได้แก่
- ชื่อ-นามสกุล (ตามหนังสือเดินทาง)
- สัญชาติ
- เลขที่หนังสือเดินทาง
- หมายเลขวีซ่า ประภทวีซ่า
- วันที่เดินทางเข้าประเทศไทย
- เลขที่บัตรขาเข้า-ขาออก
ขั้นตอนการแจ้ง TM30

1. แจ้งด้วยตนเองที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ได้แก่ เอกสารของผู้แจ้ง เอกสารของผู้อยู่อาศัย เอกสารเกี่ยวที่พัก และแบบฟอร์มที่กรอกข้อมูลเรียบร้อย
- นำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่ที่พักอยู่อาศัย
- รับใบรับแจ้งหรือตราประทับเป็นหลักฐาน
2. แจ้งผ่านระบบออนไลน์
- ลงทะเบียนและเลือก วิธีแจ้ง TM30 ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ ข้อมูลผู้แจ้ง ข้อมูลสถานที่พัก และข้อมูลผู้อยู่อาศัย
- อัปโหลดเอกสารประกอบโดยสแกนเป็นไฟล์ดิจิทัล PDF หรือ JPG แล้วส่งข้อมูล จากนั้นรับเอกสารยืนยันการแจ้งระบบ
3. แจ้งทางไปรษณีย์ (เฉพาะบางกรณี)
- จัดเตรียมเอกสารทั้งหมดเหมือนการยื่นด้วยตัวเอง
- ส่งเอกสารไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตามพื้นที่ที่อยู่อาศัย พร้อมแนบซองจ่าหน้าตัวเอง และแสตมป์สำหรับรับเอกสารตอบกลับ
- เก็บหลักฐานการส่งไปรษณีย์ เช่น ใบเสร็จหรือหมายเลขพัสดุไว้เป็นหลักฐาน
ไม่แจ้ง TM30 มีโทษอย่างไร?
โทษไม่แจ้ง TM30 ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นการกระทำที่ผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 38 ดังนี้
1. โทษปรับตามกฎหมาย
- เจ้าของบ้าน ผู้ให้เช่า ผู้ครอบครอง หรือผู้ดูแลที่พักที่ไม่ได้แจ้ง จะถูกปรับไม่เกิน 2,000 บาทต่อกรณี
- สำหรับสถานประกอบการ ประเภทโรงแรม รีสอร์ท หรือโฮสเทล หากไม่แจ้งจะถูกปรับ สูงสุด 10,000 บาท
2. กระทบต่อการต่ออายุวีซ่าและการขอใบอนุญาตทำงาน
ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในที่พัก โดยไม่ได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าพัก อาจมีปัญหาในการต่อวีซ่า หรือขอใบอนุญาตทำงาน เนื่องจากข้อมูลในระบบไม่ครบถ้วน
3. เสี่ยงต่อการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม
หากไม่มีข้อมูลเกี่ยวการแจ้ง TM30 เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทำการสุ่มตรวจ ผู้อยู่อาศัย และเจ้าของที่พักอาจถูกเรียกตรวจสอบเอกสารเพิ่มเติม
อย่าปล่อยให้การแจ้ง TM30 เป็นเรื่องยุ่งยาก รู้ก่อนปฏิบัติก่อน เพราะคือหน้าที่สำคัญของเจ้าของบ้าน ผู้ให้เช่า และผู้ดูแลที่พักที่มีชาวต่างชาติเข้ามาพักอาศัย ดำเนินการแจ้งให้ถูกต้อง และตรงเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงโทษปรับตามกฎหมาย พร้อมทั้งปกป้องคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัย หากคุณต้องการทีมนิติบุคคลมืออาชีพ APP Services พร้อมดูแลคุณด้วยใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อยกระดับชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
☎️ Tel: 02-086-7199
🟢 Line OA: @appmanagement
🔵 Facebook: APP Home Private Service