นิติบุคคลหมู่บ้าน

นิติบุคคลหมู่บ้าน ไม่โปร่งใสทำอย่างไร? วิธีร้องเรียนนิติหมู่บ้าน ให้ตรงจุด

พฤษภาคม 16, 2025

หากเราพบว่านิติบุคคลหมู่บ้านของเรามีพฤติกรรมไม่โปร่งใส ไม่น่าไว้วางใจ หรือมีการหาผลประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลางโดยมิชอบ สมาชิกในหมู่บ้านสามารถแก้ไขจัดการปัญหานี้ได้หรือไม่ ? คำตอบคือ สมาชิกสามารถร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่มีพฤติกรรมหรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานได้ จะมีวิธีการสังเกตสัญญาณ ขั้นตอน และวิธีการร้องเรียนนิติหมู่บ้านที่ไม่โปร่งใสอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

สัญญาณที่บ่งบอกว่านิติบุคคลหมู่บ้านของคุณอาจไม่โปร่งใส

สำหรับสัญญาณที่บ่งบอกให้เราทราบว่าพฤติกรรมของนิติหมู่บ้านมีความไม่โปร่งใสนั้น สามารถสังเกตได้จากหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านต่าง ๆ ได้ รวมถึงพิจารณาจากสภาพแวดล้อมของทรัพย์ส่วนกลางไปจนถึงระบบสาธารณูปโภคในหมู่บ้านที่เราอยู่อาศัยว่านิติบุคคลได้มีการตรวจสอบ ซ่อมแซม บำรุงรักษา หรือมีการพัฒนาโครงการให้มีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่านิติบุคคลหมู่บ้านของคุณอาจไม่โปร่งใส ได้แก่

การเงินที่ไม่ชัดเจนและตรวจสอบไม่ได้

เพราะนิติบุคคลหมู่บ้านมีหน้าที่ในการดูแลเงินจัดการงบประมาณ และรายงานรายรับ รายจ่าย ไปจนถึงการจัดทำงบประมาณประจำปีให้กับสมาชิกได้รับทราบ หากพบว่ามีเส้นทางการเงินที่ไม่ชัดเจน มีการปกปิด ตกแต่งบัญชี หรือไม่สามารถตรวจสอบการใช้เงินของนิติบุคคลหมู่บ้านได้ ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่านิติหมู่บ้านของคุณอาจมีการทุจริต หรือไม่โปร่งใส

นิติบุคคลหมู่บ้าน

การบริหารจัดการที่ไม่เปิดเผยข้อมูล

หากพบว่าการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับหมู่บ้านหรือนิติบุคคลหมู่บ้านมีความยากลำบาก เช่น มีการจัดประชุมที่ไม่มีตัวแทนสมาชิกเข้าร่วมด้วย การไม่เผยแพร่รายงานการประชุม ปกปิดข้อมูลสำคัญ หรือใช้กลุ่มคนไม่กี่คนในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลาง ก็เป็นพฤติกรรมที่สื่อถึงความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลหมู่บ้าน

การตัดสินใจที่ไม่ฟังเสียงส่วนใหญ่ของลูกบ้าน

เป็นพฤติกรรมที่นิติบุคคลไม่ฟังเสียงของลูกบ้าน มีการตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือละเลยผลการลงมติของสมาชิก ใช้อำนาจตามใจโดยมีผลประโยชน์ของตัวเองทับซ้อน หรือเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถือเป็นพฤติกรรมที่ผิดและสื่อให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลหมู่บ้าน

โครงการหรือการจัดซื้อจัดจ้างที่น่าสงสัย

หากมีการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การต่อเติม ปรับปรุง หรือแก้ไขส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงการบ้านจัดสรรโดยว่าจ้างผู้รับเหมาโดยไม่เปรียบเทียบราคา หรือใช้วัสดุที่มีราคาสูงเกินความเป็นจริง หรืองานที่ได้คุณภาพไม่สมกับราคา เป็นไปได้ว่าอาจเกิดการสร้างผลประโยชน์ทับซ้อน หรือนิติบุคคลอาจเป็นผู้ใกล้ชิด มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้รับเหมา เป็นต้น

นิติบุคคลหมู่บ้าน

การละเลยหรือไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ลูกบ้านร้องเรียน

หากมีข้อร้องเรียนจากสมาชิกแต่นิติบุคคลหมู่บ้านไม่แก้ไข เพิกเฉย หรือเลือกแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิกเฉพาะกลุ่ม หรือไม่แจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ปัญหาให้สมาชิกในหมู่บ้านทราบ ก็สามารถตีความถึงความไม่โปร่งใสในการทำงานของนิติบุคคลหมู่บ้านได้

เตรียมหลักฐานสนับสนุนข้อร้องเรียน

เมื่อรู้สัญญาณความไม่โปร่งใสที่สมาชิกหมู่บ้านสามารถร้องเรียนได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการเตรียมตัวให้ข้อร้องเรียนมีน้ำหนักมากพอด้วยการเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เป็นเพียงแค่การกล่าวหาเลื่อนลอย โดยมีขั้นตอนดังนี้

รวบรวมหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่เกิดเหตุอันแสดงถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้าน สมาชิกควรเก็บหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อร้องเรียน เช่น ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ หรือข้อความการพูดคุยจากแชท รวมถึงเอกสารต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนของเรา

พูดคุยและรวบรวมรายชื่อลูกบ้านที่ได้รับผลกระทบ

นอกจากการเตรียมหลักฐานด้านข้อมูลเอกสารแล้ว การรวมกลุ่มสมาชิกที่มีความเห็นในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจะช่วยทำให้ข้อร้องเรียนมีน้ำหนักและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

ทำความเข้าใจข้อกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหมู่บ้าน

สำหรับหมู่บ้านมักจะมีข้อกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522, ข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร, เอกสารสัญญาซื้อขาย ไปจนถึงรายงานการประชุมและเอกสารที่นิติบุคคลได้ทำการเผยแพร่ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและเป็นการเตรียมรากฐานที่แข็งแกร่งก่อนทำการร้องเรียน เพื่อไม่ใให้ประเด็นของเราถูกตีตกไปอย่างเปล่าประโยชน์

ช่องทางการร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่ไม่โปร่งใส

เมื่อเตรียมหลักฐานและเตรียมความพร้อมในการร้องเรียนได้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ต่อมาคือขั้นตอนการส่งเรื่องเพื่อร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่พบว่ามีพฤติกรรมไม่โปร่งใส โดยสามารถทำได้ 3 ช่องทางหลัก ๆ ดังนี้

เจรจากับนิติบุคคลโดยตรง

สำหรับขั้นแรกคือการที่สมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรเตรียมหลักฐาน ข้อร้องเรียนต่าง ๆ รวมกลุ่มกันเข้าไปเจรจากับนิติบุคคลโดยตรงเพื่อพูดคุยถึงเหตุผล ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขร่วมกันอย่างสันติ หากจบที่ขั้นตอนนี้ได้ก็จะส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างนิติบุคคลและสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรร เป็นการประนีประนอมต่อกัน

นิติบุคคลหมู่บ้าน

ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการหมู่บ้าน

หากการเจรจากับนิติบุคคลโดยตรงไม่เป็นผล ขั้นถัดมาคือการร้องเรียนไปยังคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้าน เพื่อให้พิจารณาประเด็นที่สื่อให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลพร้อมทั้งหลักฐานให้พิจารณาดำเนินการตรวจสอบและตัดสินใจหาทางออกต่อไป

ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

สมาชิกสามารถยื่นร้องเรียนเรื่องความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกรมที่ดิน, สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), ศูนย์ดำรงธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานีตำรวจ (หากมีความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับทางอาญา) นอกจากนี้หากยังหาทางออกไม่ได้ ไม่สามารถเจรจากันได้ลงตัว อาจต้องดำเนินการต่อไปที่การส่งฟ้องต่อศาลให้พิจารณาหาทางออก

นิติบุคคลหมู่บ้าน ไม่โปร่งใสทำอย่างไร? วิธีร้องเรียนนิติหมู่บ้าน ให้ตรงจุด

หากเราพบว่านิติบุคคลหมู่บ้านของเรามีพฤติกรรมไม่โปร่งใส ไม่น่าไว้วางใจ หรือมีการหาผลประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลางโดยมิชอบ สมาชิกในหมู่บ้านสามารถแก้ไขจัดการปัญหานี้ได้หรือไม่ ? คำตอบคือ สมาชิกสามารถร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่มีพฤติกรรมหรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานได้ จะมีวิธีการสังเกตสัญญาณ ขั้นตอน และวิธีการร้องเรียนนิติหมู่บ้านที่ไม่โปร่งใสอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

สัญญาณที่บ่งบอกว่านิติบุคคลหมู่บ้านของคุณอาจไม่โปร่งใส

สำหรับสัญญาณที่บ่งบอกให้เราทราบว่าพฤติกรรมของนิติหมู่บ้านมีความไม่โปร่งใสนั้น สามารถสังเกตได้จากหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านต่าง ๆ ได้ รวมถึงพิจารณาจากสภาพแวดล้อมของทรัพย์ส่วนกลางไปจนถึงระบบสาธารณูปโภคในหมู่บ้านที่เราอยู่อาศัยว่านิติบุคคลได้มีการตรวจสอบ ซ่อมแซม บำรุงรักษา หรือมีการพัฒนาโครงการให้มีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่านิติบุคคลหมู่บ้านของคุณอาจไม่โปร่งใส ได้แก่

การเงินที่ไม่ชัดเจนและตรวจสอบไม่ได้

เพราะนิติบุคคลหมู่บ้านมีหน้าที่ในการดูแลเงินจัดการงบประมาณ และรายงานรายรับ รายจ่าย ไปจนถึงการจัดทำงบประมาณประจำปีให้กับสมาชิกได้รับทราบ หากพบว่ามีเส้นทางการเงินที่ไม่ชัดเจน มีการปกปิด ตกแต่งบัญชี หรือไม่สามารถตรวจสอบการใช้เงินของนิติบุคคลหมู่บ้านได้ ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่านิติหมู่บ้านของคุณอาจมีการทุจริต หรือไม่โปร่งใส

การบริหารจัดการที่ไม่เปิดเผยข้อมูล

หากพบว่าการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับหมู่บ้านหรือนิติบุคคลหมู่บ้านมีความยากลำบาก เช่น มีการจัดประชุมที่ไม่มีตัวแทนสมาชิกเข้าร่วมด้วย การไม่เผยแพร่รายงานการประชุม ปกปิดข้อมูลสำคัญ หรือใช้กลุ่มคนไม่กี่คนในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลาง ก็เป็นพฤติกรรมที่สื่อถึงความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลหมู่บ้าน

นิติบุคคลหมู่บ้าน

การตัดสินใจที่ไม่ฟังเสียงส่วนใหญ่ของลูกบ้าน

เป็นพฤติกรรมที่นิติบุคคลไม่ฟังเสียงของลูกบ้าน มีการตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือละเลยผลการลงมติของสมาชิก ใช้อำนาจตามใจโดยมีผลประโยชน์ของตัวเองทับซ้อน หรือเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถือเป็นพฤติกรรมที่ผิดและสื่อให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลหมู่บ้าน

โครงการหรือการจัดซื้อจัดจ้างที่น่าสงสัย

หากมีการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การต่อเติม ปรับปรุง หรือแก้ไขส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงการบ้านจัดสรรโดยว่าจ้างผู้รับเหมาโดยไม่เปรียบเทียบราคา หรือใช้วัสดุที่มีราคาสูงเกินความเป็นจริง หรืองานที่ได้คุณภาพไม่สมกับราคา เป็นไปได้ว่าอาจเกิดการสร้างผลประโยชน์ทับซ้อน หรือนิติบุคคลอาจเป็นผู้ใกล้ชิด มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้รับเหมา เป็นต้น

การละเลยหรือไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ลูกบ้านร้องเรียน

หากมีข้อร้องเรียนจากสมาชิกแต่นิติบุคคลหมู่บ้านไม่แก้ไข เพิกเฉย หรือเลือกแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิกเฉพาะกลุ่ม หรือไม่แจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ปัญหาให้สมาชิกในหมู่บ้านทราบ ก็สามารถตีความถึงความไม่โปร่งใสในการทำงานของนิติบุคคลหมู่บ้านได้

เตรียมหลักฐานสนับสนุนข้อร้องเรียน

เมื่อรู้สัญญาณความไม่โปร่งใสที่สมาชิกหมู่บ้านสามารถร้องเรียนได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการเตรียมตัวให้ข้อร้องเรียนมีน้ำหนักมากพอด้วยการเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เป็นเพียงแค่การกล่าวหาเลื่อนลอย โดยมีขั้นตอนดังนี้

รวบรวมหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่เกิดเหตุอันแสดงถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้าน สมาชิกควรเก็บหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อร้องเรียน เช่น ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ หรือข้อความการพูดคุยจากแชท รวมถึงเอกสารต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนของเรา

นิติบุคคลหมู่บ้าน

พูดคุยและรวบรวมรายชื่อลูกบ้านที่ได้รับผลกระทบ

นอกจากการเตรียมหลักฐานด้านข้อมูลเอกสารแล้ว การรวมกลุ่มสมาชิกที่มีความเห็นในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจะช่วยทำให้ข้อร้องเรียนมีน้ำหนักและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

ทำความเข้าใจข้อกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหมู่บ้าน

สำหรับหมู่บ้านมักจะมีข้อกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522, ข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร, เอกสารสัญญาซื้อขาย ไปจนถึงรายงานการประชุมและเอกสารที่นิติบุคคลได้ทำการเผยแพร่ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและเป็นการเตรียมรากฐานที่แข็งแกร่งก่อนทำการร้องเรียน เพื่อไม่ใให้ประเด็นของเราถูกตีตกไปอย่างเปล่าประโยชน์

ช่องทางการร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่ไม่โปร่งใส

เมื่อเตรียมหลักฐานและเตรียมความพร้อมในการร้องเรียนได้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ต่อมาคือขั้นตอนการส่งเรื่องเพื่อร้องเรียนนิติบุคคลหมู่บ้านที่พบว่ามีพฤติกรรมไม่โปร่งใส โดยสามารถทำได้ 3 ช่องทางหลัก ๆ ดังนี้

เจรจากับนิติบุคคลโดยตรง

สำหรับขั้นแรกคือการที่สมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรเตรียมหลักฐาน ข้อร้องเรียนต่าง ๆ รวมกลุ่มกันเข้าไปเจรจากับนิติบุคคลโดยตรงเพื่อพูดคุยถึงเหตุผล ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขร่วมกันอย่างสันติ หากจบที่ขั้นตอนนี้ได้ก็จะส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างนิติบุคคลและสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรร เป็นการประนีประนอมต่อกัน

ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการหมู่บ้าน

หากการเจรจากับนิติบุคคลโดยตรงไม่เป็นผล ขั้นถัดมาคือการร้องเรียนไปยังคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้าน เพื่อให้พิจารณาประเด็นที่สื่อให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานของนิติบุคคลพร้อมทั้งหลักฐานให้พิจารณาดำเนินการตรวจสอบและตัดสินใจหาทางออกต่อไป

ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

สมาชิกสามารถยื่นร้องเรียนเรื่องความไม่โปร่งใสของนิติบุคคลไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกรมที่ดิน, สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), ศูนย์ดำรงธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานีตำรวจ (หากมีความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับทางอาญา) นอกจากนี้หากยังหาทางออกไม่ได้ ไม่สามารถเจรจากันได้ลงตัว อาจต้องดำเนินการต่อไปที่การส่งฟ้องต่อศาลให้พิจารณาหาทางออก

เพราะ APP Service เข้าใจเป็นอย่างดีว่าการบริหารดูแลหมู่บ้านของนิติบุคคล “ความโปร่งใสในการทำงาน” ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้นิติบุคคลมีความน่าเชื่อถือ ต้องไม่สร้างความเคลือบแคลงใจให้กับสมาชิกลูกบ้าน มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน รายงานทางการเงิน รายงานการแก้ไขปัญหาร้องเรียน และผลการประชุมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความขัดแย้ง ข้อสงสัยเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินงาน และช่วยให้เกิดการบริหารจัดการภายในหมู่บ้านที่ราบรื่น ไร้ปัญหาร้องเรียน


☎️ Tel: 02-086-7199

🟢 Line OA: @appmanagement

🔵 Facebook: APP Home Private Service

ติดต่อเราผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย

บทความอื่นๆ

ลูกบ้านคอนโดต้องรู้! นอกจากกฎระเบียบในการอยู่อาศัยร่วมกันที่กำหนดโดยนิติบุคคลคอนโดแล้ว เรายังต้องให้ความสำคัญกับพรบ.อาคารชุด
สำหรับงานด้านการบริหารทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดในองค์กรอย่าง “ทรัพยากรมนุษย์” ถือเป็นคีย์สำคัญของการพาองค์กรมุ่งหน้าสู่เป้าหมายและความสำเร็จ
หากเราพบว่านิติบุคคลหมู่บ้านของเรามีพฤติกรรมไม่โปร่งใส ไม่น่าไว้วางใจ หรือมีการหาผลประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลางโดยมิชอบ

ผู้เชี่ยวชาญการ
บริหารงานนิติบุคคล
และบริการจัดการ
อสังหาริมทรัพย์

ขั้นตอนบริการล้างและบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
เราทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างครบวงจร เพิ่มประสิทธิภาพ ยืดอายุการใช้งาน
ทำความสะอาดล้ำลึกทุกจุด พร้อมตรวจเช็กระบบอย่างมืออาชีพ
01 ปูผ้าใบป้องกันสิ่งสกปรกบริเวณพื้นที่ล้างทำความสะอาด
02 ตรวจสอบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
03 วัดอุณหภูมิและตรวจเช็กกระแสไฟฟ้า
04 ล้างทำความสะอาดแผงฟินคอยล์
05 ล้างทำความสะอาดแผ่นฟิลเตอร์กรองอากาศ
06 ล้างทำความสะอาดพัดลมกรงกระรอก
07 ดูดและเป่าท่อน้ำทิ้งเพื่อป้องกันการอุดตัน
08 ทำความสะอาดตัวเครื่อง Fan Coil Unit
09 เป่าไล่ความชื้นในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องปรับอากาศ
10 ฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อโรคบนแผงฟินคอยล์
11 ล้างทำความสะอาดคอยล์ร้อน (Condensing Coil)
12 ตรวจสอบแผงควบคุมและระบบการทำงานของเครื่อง
13 ตรวจวัดอุณหภูมิความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
14 ตรวจเช็กแรงดันและค่ากระแสไฟฟ้าเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่เหมาะสม
15 ส่งมอบงานให้ลูกค้า พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษา
เครื่องปรับอากาศอย่างเหมาะสม
Air conditioner cleaning and maintenance process
We provide a comprehensive air conditioner cleaning service, enhancing efficiency, extending lifespan, ensuring deep cleaning of every component and conducting a professional system check-up.
01 Lay a protective tarp to prevent dirt and debris in the cleaning area.
02 Inspect the air conditioner’s operation, including the swing panel.
03 Measure temperature and check electrical current.
04 Clean the coil fins.
05 Wash and clean the air filter.
06 Clean the squirrel cage fan.
07 Vacuum and blow out the drain pipe to prevent clogging.
08 Clean the fan coil unit (FCU) casing.
09 Blow out moisture from various parts of the air conditioner.
10 Spray disinfectant on the coil fins.
11 Clean the condensing coil (outdoor unit).
12 Inspect the control panel and overall system operation.
13 Measure the cooling temperature of the air conditioner.
14 Check pressure levels and electrical current to ensure optimal performance.
15 Deliver the completed service to the customer with expert advice on proper air conditioner maintenance.