ค่าส่วนกลาง

ค่าส่วนกลาง คืออะไร? ทำไมต้องจ่ายทุกเดือน รวมคำตอบที่เจ้าของห้องควรรู้

เมษายน 22, 2025
ค่าส่วนกลาง

คุณเคยสงสัยไหมว่า “ค่าส่วนกลาง” ที่ต้องจ่ายทุกเดือนคืออะไร และทำไมลูกบ้านทั้งในคอนโด หรือบ้านจัดสรร ต้องจ่ายตลอดทั้งปี? ค่าส่วนกลางไม่ใช่แค่ค่าใช้จ่ายธรรมดา แต่เป็นกลไกสำคัญในการดูแลพื้นที่ส่วนกลางของโครงการ เช่น ลิฟต์  ฟิตเนส หรือค่าน้ำไฟสาธารณะ มาทำความเข้าใจว่าคืออะไร คิดอย่างไร และจะตรวจสอบให้คุ้มค่าได้อย่างไร

ค่าส่วนกลางคืออะไร

ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัยต้องชำระให้กับนิติบุคคล เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลรักษา และซ่อมแซมพื้นที่ส่วนกลางของโครงการ เช่น สระว่ายน้ำ  หมู่บ้าน สนามเด็กเล่น ฟิตเนส ลิฟต์ หรือระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อให้พื้นที่ส่วนรวมได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และพร้อมใช้งานเสมอ

ค่าส่วนกลางคิดอย่างไร มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง

ค่าส่วนกลาง

1. การคำนวณตามพื้นที่

คำนวณตามขนาดพื้นที่ของห้องหรือบ้านที่คุณเป็นเจ้าของ เช่น หากคุณมีพื้นที่มาก จะต้องจะจ่ายค่าส่วนกลางมากตามสัดส่วน

สูตรการคำนวณรายเดือน

ค่าส่วนกลางรายเดือน = ขนาดพื้นที่ (ตร.ม.) x อัตราค่าส่วนกลาง (บาท/ตร.ม./เดือน)

ตัวอย่าง : หากคุณมีห้องขนาด 40 ตร.ม. และโครงการคิดค่าส่วนกลางในอัตรา 50 บาท/ตร.ม./เดือน

ค่าส่วนกลาง = 40 x 50 = 2,000 บาท/เดือน หรือ 24,000 บาท/ปี

2. อัตราค่าส่วนกลางตามกำหนด

อัตราค่าส่วนกลางกำหนดโดยนิติบุคคล หรือผู้จัดการโครงการบ้านจัดสรร ขึ้นอยู่กับระดับบริการ สิ่งอำนวยความสะดวก และค่าใช้จ่ายในโครงการ

อัตราค่าส่วนกลาง

ตัวอย่าง : คอนโดมิเนียมระดับเริ่มต้น อาคารสูง 8 ชั้น ไม่มีลิฟต์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน อัตราค่าส่วนกลางประมาณ 25-35 บาท/ตร.ม./เดือน

3. ประเภทของโครงการที่มีผลต่ออัตราค่าส่วนกลาง

คอนโดมิเนียมหรือบ้านจัดสรร แต่ละประเภทจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่แตกต่างกัน ทำให้อัตราค่าส่วนกลางไม่เท่ากัน

อัตราค่าส่วนกลางตามประเภทโครงการ

ตัวอย่าง : หมู่บ้านจัดสรรขนาดกลาง มีสวนส่วนกลาง คลับเฮาส์ ผู้รักษาความปลอดภัยทางเข้าออก แต่ไม่มีฟิตเนสหรือสระว่ายน้ำ อัตราค่าส่วนกลางโดยประมาณ 800–1,200 บาท/เดือน/หลัง

วิธีตรวจสอบการใช้จ่ายค่าส่วนกลาง

1. ขอสำเนางบด้านการเงินประจำปี

นิติบุคคลอาคารชุด หรือ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีหน้าที่จัดทำงบการเงินประจำปี ประกอบด้วย รายรับ-รายจ่ายค่าส่วนกลาง รายการบำรุงรักษาระบบ  และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด เจ้าของร่วมสามารถขอสำเนารายงานการเงิน เพื่อตรวจสอบได้

2. ตรวจสอบรายงานบัญชีรายเดือนหรือรายไตรมาส

บางโครงการจะสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าส่วนกลาง ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น กระดานประกาศ กลุ่มไลน์ หรือเว็บไซต์ของนิติบุคคลคอนโด เพื่อให้เจ้าของร่วมตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส ช่วยให้เห็นแนวโน้มของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้

3. เข้าร่วมประชุมใหญ่เจ้าของร่วม

การประชุมใหญ่ประจำปีของนิติบุคคล จะมีการนำเสนองบประมาณปีถัดไป และรายงานการใช้งบประมาณการเงินในปีที่ผ่านมา จึงเป็นโอกาสสำคัญที่เจ้าของห้องจะได้ร่วมพูดคุย สอบถาม หรือเสนอแนวทางการใช้จ่ายอย่างเหมาะสม

4. ขอรายละเอียดของรายการค่าใช้จ่าย

หากเจ้าของห้องหรือผู้อยู่อาศัยพบเห็น รายการใช้จ่ายค่าส่วนกลางที่ไม่ชัดเจน เช่น ค่าจ้างบุคลากร ค่าอุปกรณ์ ค่าบำรุงระบบต่าง ๆ สามารถทำหนังสือสอบถามนิติบุคคล  เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามสิทธิที่ระบุไว้ในกฎหมายค่าส่วนกลาง

ไม่จ่ายค่าส่วนกลางจะเกิดผลอย่างไร

ค่าส่วนกลาง

การละเลยและไม่ชำระค่าส่วนกลาง ส่งผลกระทบมากกว่าที่หลายคนคิด เนื่องจากค่าส่วนกลางเป็นภาระผูกพันตามกฎหมาย ที่เจ้าของห้องหรือบ้านต้องรับผิดชอบร่วมกัน  หรือไม่ดำเนินการชำระค่าส่วนกลาง อาจนำไปสู่ผลกระทบดังนี้

1. ค่าปรับและดอกเบี้ย

นิติบุคคลมีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากยอดค้างชำระค่าส่วนกลาง ตามอัตราที่ระบุไว้ในข้อบังคับของโครงการอาจเริ่มตั้งแต่ 7.5% ต่อปี หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของโครงการ หากมียอดค้างสะสมจะทำให้ยอดรวมที่ต้องชำระสูงขึ้นเรื่อย ๆ

2. ถูกจำกัดในการใช้พื้นที่ส่วนกลาง

เจ้าของร่วมที่ไม่จ่ายค่าส่วนกลาง จะถูกระงับสิทธิในการใช้พื้นที่ส่วนกลาง เช่น สระว่ายน้ำ ฟิตเนส หรือห้องประชุม ซึ่งถือเป็นมาตรการเบื้องต้นที่่นิติบุคคลใช้เพื่ิอจูงใจให้เจ้าของห้องปฏิบัติตาม

3. ถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย

หากเพิกเฉยเป็นเวลานาน นิติบุคคลสามารถฟ้องร้องค่าส่วนกลางค้างชำระได้ และศาลอาจมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์หรือบังคับจ่ายในภายหลัง

จ่ายค่าส่วนกลางอย่างไรให้คุ้มค่า

1. ตรวจสอบงบการเงินของนิติบุคคล

นิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงินประจำปี ซึ่งประกอบด้วยรายรับ-รายจ่าย และรายการบำรุงรักษาต่าง ๆ เจ้าของร่วมสามารถขอตรวจสอบเอกสารเหล่านี้ได้ เพื่อดูเงิรที่คุณจ่ายไปในแต่ละปีถูกนำไปใช้ใน การบริหารค่าส่วนกลาง ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่

2. เข้าร่วมประชุมเข้าของร่วม

การประชุมใหญ่ประจำปีของนิติบุคคล ถือเป็นการประชุมที่สำคัญในการรับทราบแผนการใช้จ่าย การตั้งงบประมาณค่าส่วนกลาง และการตัดสินใจเรื่องสำคัญต่าง ๆ หากเข้าร่วมสามารถใช้สิทธิออกเสียง และแสดงความคิดเห็นได้โดยตรง

3. ขอตรวจสอบรายจ่ายได้

หากพบว่ารายการใช้จ่ายค่าส่วนกลางที่มีความไม่ชัดเจน หรือสงสัยว่าค่าใช้จ่ายบางรายการไม่เหมาะสมเจ้าของห้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอตรวจสอบเอกสาร และขอคำชี้แจงจากคณะกรรมการนิติบุคคลได้ตามกฎหมาย

4. ร่วมกันเสนอแนะแผนงานขอนิติ

เจ้าของห้องมีสิทธิร่วมเสนอแนวทางหรือแผนงานพัฒนาโครงการ ที่ช่วยให้การใช้พื้นที่ส่วนกลางเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย เพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมความเป็นชุมชน

ค่าส่วนกลาง ไม่ใช่เพียงแค่ค่าใช้จ่ายประจำที่เจ้าของห้องต้องจ่าย แต่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้โครงการน่าอยู่ มีมาตรฐาน และช่วยรักษามูลค่าทรัพย์สินของคุณในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การจ่ายค่าส่วนกลางจะยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น หากเจ้าของร่วมเข้าใจสิทธิ หน้าที่ของตัวเอง พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่และดูแลส่วนกลางร่วมกับนิติบุคคล ดังนั้นการไม่ละเลย และชำระค่าส่วนกลางให้ตรงเวลา จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของห้องควรใส่ใจ เพื่อให้การบริหารจัดการค่าส่วนกลาง และนิติบุคคลเป็นเรื่องง่าย เราขอแนะนำ APP SERVICE ผู้ให้บริการด้านนิติบุคคลที่มีระบบบริหารจัดการแบบครบวงจร  พร้อมด้วยทีมงานมืออาชีพ ที่พร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ


☎️ Tel: 02-086-7199

🟢 Line OA: @appmanagement

🔵 Facebook: APP Home Private Service

ติดต่อเราผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย

บทความอื่นๆ

ทำความรู้จักกับ Facility Management การบริหารจัดการอาคารอย่างเป็นระบบ ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย น่าอยู่ และยืดอายุการใช้งาน
TM30 คืออะไร? หลายคนที่เป็นเจ้าของบ้านหรือผู้ให้เช่าอาจยังไม่รู้ว่า การมีชาวต่างชาติเข้ามาพักอาศัย จำเป็นต้องแจ้งข้อมูลกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองผ่านแบบฟอร์ม บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ TM30 ใครที่มีหน้าที่ต้องแจ้ง และสรุปขั้นตอนการดำเนินการแจ้งอย่างถูกต้อง
เจอปัญหาข้างห้องเสียงดัง ทำอย่างไรได้บ้าง ? เสียงรบกวนจากห้องข้าง ๆ ที่ดังเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเสียงเปิดเพลง เสียงพูดคุย หรือเสียงสัตว์เลี้ยงที่ส่งเสียงรบกวนผู้อยู่อาศัย

ผู้เชี่ยวชาญการ
บริหารงานนิติบุคคล
และบริการจัดการ
อสังหาริมทรัพย์

ขั้นตอนบริการล้างและบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
เราทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างครบวงจร เพิ่มประสิทธิภาพ ยืดอายุการใช้งาน
ทำความสะอาดล้ำลึกทุกจุด พร้อมตรวจเช็กระบบอย่างมืออาชีพ
01 ปูผ้าใบป้องกันสิ่งสกปรกบริเวณพื้นที่ล้างทำความสะอาด
02 ตรวจสอบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
03 วัดอุณหภูมิและตรวจเช็กกระแสไฟฟ้า
04 ล้างทำความสะอาดแผงฟินคอยล์
05 ล้างทำความสะอาดแผ่นฟิลเตอร์กรองอากาศ
06 ล้างทำความสะอาดพัดลมกรงกระรอก
07 ดูดและเป่าท่อน้ำทิ้งเพื่อป้องกันการอุดตัน
08 ทำความสะอาดตัวเครื่อง Fan Coil Unit
09 เป่าไล่ความชื้นในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องปรับอากาศ
10 ฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อโรคบนแผงฟินคอยล์
11 ล้างทำความสะอาดคอยล์ร้อน (Condensing Coil)
12 ตรวจสอบแผงควบคุมและระบบการทำงานของเครื่อง
13 ตรวจวัดอุณหภูมิความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
14 ตรวจเช็กแรงดันและค่ากระแสไฟฟ้าเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่เหมาะสม
15 ส่งมอบงานให้ลูกค้า พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษา
เครื่องปรับอากาศอย่างเหมาะสม
Air conditioner cleaning and maintenance process
We provide a comprehensive air conditioner cleaning service, enhancing efficiency, extending lifespan, ensuring deep cleaning of every component and conducting a professional system check-up.
01 Lay a protective tarp to prevent dirt and debris in the cleaning area.
02 Inspect the air conditioner’s operation, including the swing panel.
03 Measure temperature and check electrical current.
04 Clean the coil fins.
05 Wash and clean the air filter.
06 Clean the squirrel cage fan.
07 Vacuum and blow out the drain pipe to prevent clogging.
08 Clean the fan coil unit (FCU) casing.
09 Blow out moisture from various parts of the air conditioner.
10 Spray disinfectant on the coil fins.
11 Clean the condensing coil (outdoor unit).
12 Inspect the control panel and overall system operation.
13 Measure the cooling temperature of the air conditioner.
14 Check pressure levels and electrical current to ensure optimal performance.
15 Deliver the completed service to the customer with expert advice on proper air conditioner maintenance.