
เจอปัญหาข้างห้องเสียงดัง ทำอย่างไรได้บ้าง ? เสียงรบกวนจากห้องข้าง ๆ ที่ดังเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเสียงเปิดเพลง เสียงพูดคุย หรือเสียงสัตว์เลี้ยงที่ส่งเสียงรบกวนผู้อยู่อาศัย จนส่งผลต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการนอน การทำงาน หรือการพักผ่อน หากเรากำลังเจอสถานการณ์แบบนี้ แล้วไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง หรือแจ้งนิติบุคคลได้หรือไม่ บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัย พร้อมแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกจุด เพื่อให้การอยู่อาศัยในคอนโดของคุณไร้ปัญหา และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
เข้าใจปัญหาเสียงรบกวน เสียงแบบไหนถือว่ารบกวนผู้อื่น?
1. ประเภทของเสียงที่ถูกร้องเรียน
- เสียงพูดคุยหรือเสียงทะเลาะวิวาทในคอนโด เกิดจากเสียงพูดที่ดังเกินปกติ หรือเสียงจากการโต้เถียงภายในห้อง โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืนที่เสียงสะท้อนชัดเจนในพื้นที่ปิดของคอนโด
- เสียงเพลงหรือเสียงโทรทัศน์ การเปิดเพลงเสียงดังหรือเปิดลำโพง เป็นเรื่องที่สร้างความรำคาญอย่างมาก หากเกิดขึ้นเป็นประจำ
- เสียงจากสัตว์เลี้ยง เสียงเห่าของสุนัข เสียงร้องของแมวในคอนโดที่เลี้ยงสัตว์ได้ มักเกิดปัญหากับห้องข้างเคียงโดยเฉพาะในช่วงเวลาพักผ่อน
- เสียงซ่อมแซมหรือปรับปรุงห้อง การเจาะผนัง ใช้สว่าน ตอกตะปู หรือการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น ปัญหาเสียงรบกวนตอนกลางคืน
2. ข้อกฎหมายเกี่ยวกับเสียงรบกวน
- กฎหมายอาญา มาตรา 397 ผู้ใดกระทำการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำการอื่นใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย เดือดร้อน หรือได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
- พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 เจ้าของร่วมต้องไม่ทำสิ่งใดที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของร่วมอื่น เช่น การส่งเสียงดังในพื้นที่ส่วนตัวที่ส่งผลกระทบต่อห้องอื่น
3. เสียงรบกวนช่วงเวลาไหนที่ไม่เหมาะสม
- เสียงที่ดังรบกวนในช่วงเวลา 22.00. – 06.00 น. เป็นเวลาที่ควรงดเว้นการใช้เสียงดัง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น เปิดเพลงเสียงดัง ทะเลาะวิวาท
- ในช่วงเวลากลางวัน 06.01-21.59 น.ไม่ใช้ช่วงเวลาที่ห้ามใช้เสียง แต่เราสามารถยื่นคำร้องเรียนคอนโดได้ หากมีเสียงดังเกินระดับที่รับได้ ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อน และรำคาญอย่างชัดเจน
วิธีแจ้งนิติบุคคลเมื่อเจอข้างห้องเสียงดัง

1. สังเกตและจดบันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์
เมื่อเราพบว่าข้างห้องเสียงดัง ควรเริ่มต้นจากการสังเกต และบันทึกพฤติกรรมให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแจ้งนิติบุคคลคอนโด หรือร้องเรียนปัญหา
ตัวอย่างการจดบันทึก
เหตุเกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน เวลา 23.40 น ได้ยินเสียงคนทะเลาะกันนาน 30 นาที เกิดขึ้นมาประมาณ 4 วันติดต่อกัน
2. บันทึกหลักฐาน
หลักฐานที่เป็นรูปธรรม ช่วยให้นิติบุคคลดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และมีน้ำหนักมากกว่าการแจ้งด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียว เก็บหลักฐานอย่างรอบคอบ ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่น วิดีโอหรือเสียงบันทึกจากภายในห้องของเรา
3. ติดต่อสำนักงานนิติบุคคล
เมื่อมีรายละเอียดและหลักฐานครบถ้วน ขั้นตอนถัดไปคือการติดต่อ เพื่อแจ้งนิติบุคคลให้ทราบถึงปัญหา โดยแจ้งรายละเอียดให้ชัดเจน ช่วยให้นิติบุคคลดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ไปแจ้งปัญหาด้วยตนเองที่สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด
4. เขียนคำร้องหรือแบบฟอร์มแจ้งปัญหา
เขียนให้ครบถ้วนและสุภาพ จะช่วยให้นิติบุคคลสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น โดยเริ่มต้นจากการเขียนชื่อ ระบุปัญหา อธิบายผลกระทบ และแนบหลักฐานประกอบ
ตัวอย่างการเขียนคำร้อง
“เรียนนิติบุคคล ห้อง B-1205 ขอแจ้งปัญหาเสียงดังจากห้องข้างเคียง วันที่ 22 เม.ย. เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นเสียงเพลงดังรบกวนการพักผ่อน แนบคลิปเสียงเพื่อพิจารณา ขอความกรุณาช่วยตรวจสอบ และดำเนินการด้วยครับ/ค่ะ”
หากนิติบุคคลอาคารชุดไม่ดำเนินการ ต้องทำอย่างไรต่อ?
1. สอบถามและติดตามผลอย่างสุภาพ
ส่งข้อความหรือโทรติดตามผล พร้อมกับระบุวันที่แจ้งปัญหาเสียงดังไว้ก่อนหน้า เพื่อให้นิติบุคคลทราบว่าเรากำลังรอความคืบหน้าเกี่ยวกับปัญหา
2. แจ้งคณะกรรมการอาคารชุด
หากนิติบุคคลยังไม่มีความคืบหน้า ให้ส่งเรื่องต่อไปยังคณะกรรมการอาคารชุด ซึ่งมีอำนาจในการตรวจสอบการทำของนิติบุคคล และสามารถเร่งรัดให้ดำเนินการได้
3. ร้องเรียนผ่านสำนักงานเขต หรือหน่วยงานราชการ
ในกรณีที่เพื่อนบ้านข้างห้องเสียงดัง เข้าข่ายหรือก่อให้เกิดความรำคาญ ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2535 สามารถร้องเรียนผ่านฝ่ายสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเขตหรือกรมอนามัย โดยแนบหลักฐานประกอบ เช่น เสียงบันทึกหรือวิดีโอ
วิธีป้องกัน และอยู่ร่วมกันอย่างสันติในคอนโด

1. เคารพเวลาส่วนรวม ไม่ส่งเสียงดังเกินควร
หลีกเลี่ยงการส่งเสียงดัง หรือกิจกรรมที่ใช้เสียงในช่วง 22.00-06.00 น. เช่น เปิดเพลงเสียงดัง หรือจัดปาร์ตี้ หากมีความจำเป็น ควรแจ้งเพื่อนบ้านให้ทราบล่วงหน้า
2. ดูแลสัตว์เลี้ยงให้ไม่ส่งเสียงรบกวน
ควรฝึกสัตว์เลี้ยงไม่ให้ส่งเสียงดัง เช่น เห่าหรือร้อง ในช่วงเวลากลางคืนซึ่งอาจจะรบกวนผู้อยู่อาศัยโดยรอบ นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เดินในทางเดินส่วนกลางช่วงเวลากลางวัน เพื่อความปลอดภัย และความเรียบร้อยของพื้นที่ส่วนกลาง
3. ใช้วัสดุลดเสียงหรือฉนวนกันเสียงในห้อง
การติดตั้งผ้าม่านหนา พรม หรือแผ่นกันเสียงตามผนังห้อง สามารถช่วยลดเสียงสะท้อน และผลกระทบต่อห้องข้างเคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ปฏิบัติตามระเบียบของนิติบุคคลอย่างเคร่งครัด
ทำความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่นิติบุคคลกำหนดขึ้น เช่น ช่วงเวลาในการซ่อมแซ่ม การใช้พื้นที่ส่วนกลาง และการแจ้งเหตุล่วงหน้าเมื่อต้องการทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในคอนโด
ปัญหาข้างห้องเสียงดังที่เกิดขึ้นในคอนโด อาจเริ่มจากเรื่องเล็กน้อย เช่น เสียงคุยโทรศัพท์ เสียงสัตว์เลี้ยง แต่สามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก หากเกิดเหตุเหล่านี้เป็นบ่อยครั้งโดยไม่ได้รับการแก้ไข อาจบั่นทอนการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยได้ วิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเองเริ่มต้นได้จากการสังเกต บันทึกหลักฐาน และแจ้งนิติบุคคลอาคารชุดอย่างถูกวิธี และนี่แนวทางสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การอยู่อาศันได้รับความสะดวก ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เราขอแนะนำ APP SERVICES ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานนิติบุคคล สำหรับอสังหาริมทรัพย์ภายใต้มาตรฐานการบริหารอย่างมืออาชีพ
☎️ Tel: 02-086-7199
🟢 Line OA: @appmanagement
🔵 Facebook: APP Home Private Service